เมนู

ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มี
ความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ 18
ประการ.

สัสสตทิฏฐิ 4


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ 4 ประการ. ก็สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ 4 ประการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น (บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส ) ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ คือ ระลึกชาติได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายร้อยชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย
ทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิด
ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว
พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนด

อายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ตามระลึกถึงขันธ์ที่
เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจ
ยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้.
ข้อนี้เพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ จึงสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้
ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบ
ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพัน
ชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็น
หมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น

ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคง
มีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 1 ที่สมณพราหมณ์พวก
หนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง.
(28) 2. อนึ่ง ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่า ในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้น
จุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัป
นี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง
เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์
เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยง
เสมอคงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้ว สัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่
เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง
สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่ากัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ใน
กัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติ
จากกัปนั้นแล้ว ได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน
ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ดังอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อม
แล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมี
อยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 2 ที่สมณพราหมณ์พวก
หนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง.
(29) 3. อนึ่ง ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ

เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบ
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้น
แล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็น
หมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
คงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง
สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง

นั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี
อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติ
จากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน
ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคง
มีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 3 ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและ
โลก ว่าเที่ยง.
(30) 4. อนึ่ง ในฐานะที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่
ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยว
ไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ 4 ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว
ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและ
โลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ 4 นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีวาทะว่า
เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ 4 นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทของตนเอง รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้
รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.

จบภาณวารที่หนึ่ง

เอกัจจสัสสตทิฏฐิ 4


(31) 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง